วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ต้มจืดหัวไชเท้ากระดูกหมู

 ต้มจืดหัวไชเท้ากระดูกหมู
ต้มจืดหัวไชเท้ากระดูกหมู เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ รสชาติอร่อยกลมกล่อม หอมหวานน้ำซุปต้มกระดูกหมู เป็นอีกหนึ่งเมนูที่ใช้หัวไชเท้าประกอบปรุงอาหาร และยังมีอีกมากมายหลายเมนู หัวไชเท้ามีกลิ่นรสชาติความอร่อยเฉพาะตัว ว่าจะนำมาผัด ต้ม แกง นึ่ง ยำ ต่างๆได้มากมาย แล้วแต่ความชอบ วันนี้ทางเรานำมาต้มกับกระดูกหมูซึ่งรสชาติออกมา กลมกล่อมอร่อยเข้ากันลงตัว มีเคล็ดลับคือต้มกระดูกหมูใช้ไฟอ่อนๆ เคี่ยวจน หมูเริ่มนุ่มๆ จึงใส่หัวไชเท้าลงไปต้มพอสุกหอมหวาน น้ำซุปที่ได้หอมหวานกลมกล่อมมากค่ะ หวังว่าทุกท่านคงอร่อยกับ ต้มจืดหัวไชเท้ากระดูกหมู สูตรอร่อยของเราน่ะค่ะ

สูตรอาหารไทย : ส่วนผสมสำหรับทำ
ต้มจืดหัวไชเท้ากระดูกหมู

  • สำหรับ 3-4 ท่าน
  • หัวไชเท้า 250 กรัม
  • กระดูกหมู 500 กรัม
  • แครอท 100 กรัม
  • น้ำเปล่า 1 ล.
  • เกลือป่น ½ ช้อนชา
  • ซีอิ้วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
  • กระเทียมทุบบุบ 3 กลีบ
  • รากผักชีทุบบุบ 2 ราก
  • พริกไทยดำเม็ดบุบ ½ ช้อนชา
  • ต้นหอมและผักชีหั่น 2 ช้อนโต๊ะ
·         วิธีการและขั้นตอนการทำ
ต้มจืดหัวไชเท้ากระดูกหมู
    1.เลือกหัวไชเท้า ที่สด ใหม่ หัวขนาดพอดี
2.แล้วนำหัวไชเท้ามาล้างทำความสะอาด แล้วปอกเปลือกออกให้หมด ล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำออกให้หมด จากนั้นหั่นเป็นชิ้นๆขนาดพอคำ เตรียมไว้

3.
แครอทนำมาปอกเปลือกออกให้หมด แล้วหั่นเป็นแว่นๆ เตรียมไว้

4.เลือกกระดูกหมูส่วนช่วงซี่โครงหมู จะมีกระดูกอ่อนด้วย แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นๆ ขนาด 1 ½ นิ้ว

5.
เครื่องปรุงรส ต้มจืดหัวไชเท้ากระดูกหมู กระเทียมบุบ พริกไทยดำเม็ดบุบ รากผักชีบุบ เกลือป่น ซีอิ้วขาว

6.
ตั้งหม้อใส่น้ำลงไป ใช้ไฟกลางๆ รอจนน้ำเดือดจากนั้นใส่ กระดูกหมูลงไป จากนั้นรอให้น้ำเดือดอีกครั้ง เมื่อน้ำเดือดอีกครั้ง จากนั้นปรับไฟอ่อนๆ แล้วปิดฝาหม้อ เคี่ยวไปจนกระดูกหมูนุ่ม ประมาณ 30 นาที
 
7.
จากนั้นใส่หัวไชเท้าหั่นชิ้น แครอทหั่นแว่น ลงไปต้มต่ออีกประมาณ 30 นาที จนหัวไชเท้า แครอทสุกดี

8.
เมื่อหัวไชเท้า และแครอทสุกดีแล้ว จึงใส่เครื่องปรุงรส เกลือป่น ซีอิ้วขาว กระเทียมทุบบุบ รากผักชีทุบ พริกไทยป่นลงไป จากนั้นรอให้เดือดอีกครั้ง จึงใส่ต้นหอมและผักชีหั่นลงไป คนให้เข้ากัน ปิดไฟ

9.
ต้มจืดหัวไชเท้ากระดูกหมู กลมกล่อม หอมอร่อย พร้อมเสิร์ฟ

10.
จัดเสิร์ฟ ต้มจืดหัวไชเท้ากระดูกหมู อร่อยกลมกล่อม หอมหวานน้ำซุปต้มกระดูกหมู

รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ ต้มจืดหัวไชเท้ากระดูกหมู เมนูเพื่อสุขภาพ รสชาติกลมกล่อมหอมอร่อย

ตัวอย่างวิดิโอ



ที่มา:                        http://www.thai-thaifood.com/thai/t275-ต้มจืดหัวไชเท้ากระดูกหมู9.html
https://www.youtube.com/watch?v=_Ee3WHr2KPc


วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาวมาลีรัตน์  นามสกุล น้ำคำ
สัญชาติ ไทย  เชื้อชาติ ไทย  ศาสนา พุทธ
เกิดวันที่14 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2540

มีพี่น้อง3คน : ชาย 1 คน หญิง 1 คน เป็นบุตรคนที่ 1
ที่อยู่ปัจจุบัน  บ้านเลขที่ 76หมู่12 ต.ลำดวน อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ 31160โทรศัพท์ 0982374060
สีที่ชอบ สีเหลือง สีน้ำเงิน
E-mail: namkam259@gmail.com
facebook: MaleeRat NamKam
Line: หมูบิน ซัง
Instagram: pompam_B1
ชื่อบิดานายจอน นามสกุล น้ำคำ อาชีพ เกษตรกร
โทรศัพท์ 0903083448
ชื่อมารดา นางพิรมณ์  นามสกุล น้ำคำ อาชีพ เกษตรกร
โทรศัพท์0899468470
อาชีพที่ใฝ่ฝัน 1.สหเวชศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์กีฬาและพัฒนากีฬา
                       2. การจัดการโลจิสติก
                       3.คุรุศาสตร์
มหาลัยในฝัน 1.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
                      2.มหาวิทยาลัยมหิดล
                      3.มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แผนที่บ้าน




วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ต้นอินทนิลน้ำ




ชื่อ: อินทนิลน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Lagerstroemia speciosa (L.) Pers.
ชื่อสามัญ :   Queen's crape myrtle , Pride of India
ต้นไม้ประจำจังหวัด: สกลนคร
วงศ์ :   LYTHRACEAE
ชื่ออื่น :   ฉ่วงมู  ฉ่องพนา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)  บางอบะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส) บาเย  บาเอ (มลายู-ปัตตานี) อินทนิล (ภาคกลาง, ใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่ไว สูง 5-20 เมตร ลำต้น ต้นเล็กมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้นจะเปลา ตรง โคนต้นไม้ไม่ค่อยพบพูพอน มักจะมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือพื้นดินขึ้นมาไม่มากนัก ดังนั้น เรือนยอดจึงแผ่กว้าง พุ่มแบบรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อยเท่านั้น ต้นอินทนิลน้ำที่พบตามธรรมชาติในป่าทั่วๆ ไป จะมีเรือนยอดคลุมลำต้นประมาณเก้าในสิบส่วนของความสูงทั้งหมด ผิวเปลือกนอกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน และมักจะมีรอยด่างเป็นดวงสีขาวๆ ทั่วไป ผิวของเปลือกค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่องหรือเป็นรอยแผลเป็น  เปลือกหนาประมาณ 1 ซม.  เปลือกในออกสีม่วง  ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ทรงใบรูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบ มี 9-17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ๆ ขอบใบเส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. เกลี้ยง ไม่มีขน ดอก โต มีสีต่างๆ กัน เช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพู หรือม่วงล้วนๆ ออกรวมกันเป็นช่อโต  ยาวถึง 30 ซม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ ปลายกิ่ง ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฎชัด และมีขนสั้นปกคลุมประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบเป็นคลื่นๆ บ้างเล็กน้อย เมื่อบานเต็มที่จะมีรัศมีกว้างถึง 5 ซม. รังไข่ กลม เกลี้ยง ผล รูปไข่เกลี้ยงๆ ยาว 2-2.5 ซม. 

 ลักษณะ


อินทนิลน้ำ เป็นไม้ยืนต้น เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นทั่วไปตามที่ราบลุ่มและบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำห้วย ในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดงดิบทั่วทุกภาค จะพบมากในป่าดงดิบภาคใต้ มีดอกสีม่วง สวยงาม มีชื่อในแต่ละท้องถิ่นต่างๆ กัน เช่น ตะแบกอินเดีย ฉ่องมู ซอง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) บาเอ (ปัตตานี) บางอบะซา (ยะลา นราธิวาส มาเลเซีย) อินทนิล (ภาคกลาง ภาคใต้) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ)(ในภาษาอังกฤษเรียก Pride of India หรือ Queen's flower)

ใบอินทนิลน้ำ มีใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันหรือออกเยื้องกันเล็กน้อย ลักษณะของใบเป็นรูปทรงขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก มีความกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 11-26 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวเนื้อใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบบนหรือเบี้ยวเยื้องกันเล็กน้อย ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ส่วนปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม มีเส้นแขนงใบประมาณ 9-17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ ๆ ขอบของเส้นใบย่อยจะเห็นไม่ค่อยชัดนัก ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เกลี้ยงและไม่มีขน

ดอกอินทนิลน้ำ 
ดอกใหญ่มีหลายสี เช่น สีม่วงอมชมพู สีม่วงสด หรือม่วงล้วน ออกดอกรวมกันเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบตอนใกล้ๆ ปลายกิ่ง มีความยาวถึง 30 เซนติเมตร ที่ส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมๆ เล็กๆ ตั้งอยู่ตรงกลาง ที่ผิวนอกของกลีบฐานดอกจะติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูปทรวงกรวยหงาย จะมีสีสันนูนตามยาวเห็ดชัด และมีเส้นขนสั้นๆ ปกคลุมอยู่ประปราย ดอกอินทนิลน้ำมีกลีบดอกบาง ลักษณะเป็นรูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบจะเป็นคลื่นๆ เล็กน้อย เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีรัศมีความกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร และมีรังไข่กลมเกลี้ยง จะเริ่มออกดอกได้เมื่อมีอายุประมาณ 4-6 ปี


ผลอินทนิลน้ำ ลักษณะเป็นรูปไข่เกลี้ยง ๆ กว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-2.6 เซนติเมตร ที่ผิวของผลอินทนิลจะเรียบ ไม่มีขนปกคลุม ผลมีสีน้ำตาลแดง ผลเป็นผลแห้งเมื่อแก่จะแยกออกเป็น 6 เสี่ยง และจะเผยให้เห็นเมล็ดเล็ก ๆ ที่มีปีกเป็นครีบบาง ๆ ทางด้านบน
สมุนไพรอินทนิลน้ำ มีสรรพคุณที่โดดเด่นคือมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวาน โดยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และยังช่วยลดไขมันและความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ส่วนของใบ เปลือก ราก และเมล็ดอินทนิลน้ำ
สรรพคุณของอินทนิล
อินทนิลน้ำใบอินทนิลน้ำมีรสขมฝาดเย็น ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง โดยใช้ใบแก่เต็มที่ประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำดื่มในตอนเช้า (ใบแก่)
สรรพคุณอินทนิลน้ํา ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ในประเทศญี่ปุ่นได้มีการสกัดสารจากใบอินทนิลน้ำด้วยแอลกอฮอล์ นำไปทำให้เข้มข้นจนได้สารสกัด 3 mg./ml. แล้วนำไปทำเป็นยาเม็ดขนาดเม็ดละ 250 mg. ให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและมีภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง นานติดต่อกัน 4 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยมีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่ลดลง (ใบ)
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งได้มีการทดลองทั้งในประเทศไทย อินเดีย และฟิลิปปินส์ โดยใช้ส่วนของใบแก่เต็มที่ เมล็ด และเปลือกผลในการทดลอง ซึ่งพบว่ามันมีฤทธิ์เหมือนอินซูลิน (ใบแก่,เมล็ด,เปลือกผล)
สรรพคุณอินทนิล เมล็ดช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (เมล็ด)
อินทนิล สรรพคุณของเปลือกช่วยแก้ไข้ (เปลือก)
รากมีรสขม ช่วยรักษาแผลในช่องปากและคอ (ราก)
อินทนิลน้ํา สรรพคุณช่วยแก้อาการท้องเสีย (เปลือก)
รากอินทนิลน้ำ สรรพคุณใช้เป็นยาสมานท้อง (ราก)
แก่นมีรสขม ใช้ต้มดื่มรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการได้ (ใบ,แก่น)
ส่วนข้อมูลทางเภสัชวิทยาของอินทนิลน้ำ ได้แก่ ช่วยต้านไวรัส ยับยั้งเชื้อรา ช่วยลดอาการอักเสบ
ใบอินทนิล สรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ,แก่น,เมล็ด) แต่ก่อนจะใช้ใบอินทนิลน้ำมาใช้รักษาโรคเบาหวาน ควรให้แพทย์ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหรือตรวจปัสสาวะก่อนว่า มีปริมาณน้ำตาลในเลือดอยู่เท่าใด เมื่อทราบปริมาณที่แน่นอนแล้วให้ปฏิบัติดังนี้
  • ให้ใช้ใบอินทนิลน้ำตากแห้งจำนวน 10% ของระดับน้ำตาลในเลือดที่ตรวจได้ แล้วนำใบมาบีบให้แตกละเอียดและใส่น้ำดื่มเท่าปริมาณความต้องการที่ใช้ดื่มต่อวัน เทลงให้หม้อเคลือบหรือหม้อดิน (ไม่ควรใช้หม้ออลูมิเนียมต้มยา) หลังจากนั้นเคี่ยวจนเดือดประมาณ 15 นาที
  • แล้วนำน้ำที่ได้จากการเคี่ยวมาชงใส่ภาชนะไว้ดื่มแทนน้ำตลอดวัน ทำแบบนี้ติดต่อกันประมาณ 20-30 วัน แล้วค่อยตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้งหนึ่ง
  • เมื่อตรวจแล้วหากระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเหลือเท่าใดก็ให้ลดใบอินทนิลน้ำลงตามสูตรเดิม (ใช้ใบปริมาณ 10% ของระดับน้ำตาลในเลือด) แล้วก็นำมาเคี่ยวแทนน้ำดื่มทุก ๆ วันติดต่อกันประมาณ 15 วัน แล้วค่อยไปตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้งหนึ่ง
  • ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงจนอยู่ในระดับปกติ และให้งดใช้อินทนิลน้ำชั่วคราว
  • แต่ถ้าหากระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นผิดปกติเมื่อใด ก็ให้รับประทานอินทนิลน้ำใหม่ สลับไปจนกว่าจะหายจากโรคเบาหวาน
ประโยชน์ของอินทนิลน้ำ
ต้นไม้อินทนิลน้ำ

ต้นไม้อินทนิลน้ำนิยมปลูกไว้เป็นไม้ริมทางและเป็นไม้ประดับ เนื่องจากมีดอกและใบที่สวยงาม ให้ร่มเงาและเจริญเติบโตเร็ว
ใบอ่อนนำมาตากแดดใช้ชงเป็นชาไว้ดื่มได้ ช่วยแก้เบาหวานและช่วยลดความอ้วนได้อีกด้วย จนได้มีการนำไปแปรรูปเป็นสมุนไพรอินทนิลน้ำแบบสำเร็จรูป ในรูปแบบแคปซูลและแบบชงเป็นชา
ประโยชน์ต้นอินทนิล เนื้อไม้อินทนิลน้ำเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง เพราะมีเนื้อไม้ที่แข็งแรง เหนียวและทนทน ตกแต่งขัดเงาได้ง่าย โดยเนื้อไม้นิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ ใช้ทำกระดาษพื้น ฝา รอด ตง กระเบื้องไม้มุงหลังคา คานไม้ ไม้กั้น และส่วนประกอบอื่น ๆ และยังใช้ทำเรือใบ เรือแจว เรือเดินทะเล แจวพายเรือ กรรเชียง ไถ รถ ซี่ล้อ ตัวถังเกวียน ไม้นวดข้าว กระเดื่อง ครกสาก บ่อน้ำ ร่องน้ำ กังหันน้ำ หมอนรางรถไฟ ถังไม้ ลูกหีบ หีบศพ เปียโน ฯลฯ



วีดิโอ

แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), หนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน ลดความดันโลหิตสูง ลดไขมันในเลือด (เภสัชกรหญิงจุไรรัตน์ เกิด ดอนแฝก), หนังสือเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรรมเวช), หนังสือพรรณไม้สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่ม 5, ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษ์ศาสตร์, พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับในเมืองไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม)
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_27_5.htm
http://frynn.com/
https://www.youtube.com/watch?v=FIr_KB593bw